*หญ้าหวาน* ทางเลือกของคนอ้วน


หญ้าหวาน(Stevia)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana Bertoni

ลักษณะ :
เป็นไม้ล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี เป็นพุ่มเตี้ย สูง 30-90 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีรสหวาน มีดอกช่อสีขาว

สรรพคุณเด่น :
ใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน "สตีวิโอไซท์" มีความหวานกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน สามารถใช้แทนน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคไขมันในเส้นเลือดสูง (ไม่ทำให้อ้วน)

ตาราง สรุปคุณสมบัติของสารให้ความหวาน

สารให้ความหวาน รสชาติ ให้พลังงาน
(แคลอรี/กรัม)
เหมาะสำหรับผู้ต้องการคุมน้ำหนัก
และปลอดภัยต่อผู้ป่วย เบาหวาน
ทำให้ฟันผุ หมายเหตุ ฟรุคโตส อร่อย 4 ไม่เหมาะ ฟันผุ มีมากในน้ำผลไม้ ซอร์บิทอล
ไซลิทอล
อร่อย 2.6 ไม่เหมาะ ไม่ผุ ถ้าบริโภคมากๆอาจทำให้ท้องเสีย อีริไธทอล อร่อย น้อยกว่า 0.2 ใช่ ไม่ผุ ราคาสูงมาก ซูคราโลส อร่อย 0 ใช่ ไม่ผุ ราคาสูง สตีเวีย หรือ
สารสกัดจากหญ้าหวาน
แย่ ถึง ปานกลาง 0 ใช่ ไม่ผุ มีปนรสขมของหญ้า แอสปาร์แตม ปานกลาง 0 (พลังงานจริงคือ 4 แคลอรี่ แต่เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยมาก
จึงถือว่าเป็น 0)
ใช่ ไม่ผุ ใช้ปรุงอาหารร้อนบนเตาไม่ได้, ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย อะซิซัลแฟม-เค และ
แซคคารีน
แย่ 0 ใช่ ไม่ผุ มีปนรสขมของโลหะ

ที่มา : http://www.on-diet.com/sweetener.asp

ตาราง สรุปคุณสมบัติของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่จำหน่ายในประเทศไทย

ชื่อการค้า
ส่วนประกอบ
ให้พลังงาน
(แคลอรี/ซอง)
อีควล
แอสปาร์แตม, แลกโทส
4
สลิมม่า
แอสปาร์แตม, แลกโทส
4
ฟิตเน่
แอสปาร์แตม, แลกโทส
4
ไลท์ชูการ์
แอสปาร์แตม, น้ำตาลทราย
16
ทรอปิคาน่า
แอสปาร์แตม, ซอร์บิทอล
6
สวิซซี่
แอสปาร์แตม, อะซิซัลเฟม-เค, แลกโทส
4
สวีตเอ็นโลว์*
แอสปาร์แตม, อะซิซัลเฟม-เค, แลกโทส
4
ดี-เอ็ด
ซูคราโลส, อีริไธทอล
น้อยกว่า 0.18

หมายเหตุ * ในต่างประเทศ สวีตเอ็นโลว์ ทำจากขัณฑสกรผสมกับกลูโคส เพื่อให้มีราคาถูก แต่เมื่อนำมาจำหน่ายในประเทศไทย ได้เปลี่ยนส่วนผสมเป็นแอสปาร์แตม!
ที่มา : http://www.on-diet.com/sweetener.asp

ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ จากหญ้าหวาน





วิธีใช้ในครัวเรือน :
ใช้ใบแห้งใส่แทนน้ำตาล ไม่ควรใส่มากเพราะมีรสหวานมาก

สภาพแวดล้อม :
หญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย มีการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1887 โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัย ใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปี ต่อมาญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 ในประเทศไทยเพิ่งมีการนำมาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2518 เขตที่ปลูกกันมากได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดที่น่าน ภาคเหนือเป็นพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากหญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 - 700 ม.

แปรรูป :
นำกิ่งที่ตัดมารูดใบ แล้วนำใบไปตากแดด 2-3 วัน ไม่ควรตากทั้งใบและกิ่งก้าน เพราะจะทำให้ใบไม่สวย มีสิ่งเจือปนมาก เกลี่ยใบให้ทั่วระหว่างที่ตาก เมื่อแห้งสนิทดีแล้วจึงเก็บในภาชนะบรรจุ

ที่มา : มูลนิธิสุขภาพไทย

 

*หญ้าหวาน* ทางเลือกของคนอ้วน

โดย : ผู้จัดการออนไลน์         

ใครที่ชอบความหวานคงต้องมานั่งกลุ้มอกกลุ้มใจไม่น้อย เนื่องจากไม่สามารถเติม “น้ำตาล” ได้ตามใจชอบเหมือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ใช่ว่าจะไร้ทางออกเสียทีเดียว เมื่อมีการค้นพบสรรพคุณของ “หญ้าหวาน” สมุนไพรที่สามารถให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า แถมยังให้พลังงานและแคลลอรี่ต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและคนที่ต้องการลดความอ้วนเป็นอย่างดี

พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในฐานะเลขานุการมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การค้นพบสารหวานจากสมุนไพรที่มีชื่อว่าหญ้าหวานถือเป็นอีกความสำเร็จหนึ่ง ที่นักวิทยาศาสตร์ไทยทำได้ เพราะความหวานจากหญ้าหวานนั้น สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาล เนื่องจากมีความหวานคล้ายคลึงน้ำตาลมาก

สำหรับหญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni จัดอยู่ในวงศ์ Astcraceac เป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ มีการนำมาปลูกและเผยแพร่ในไทยเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี

ในหญ้าหวานมีสารกลัยโคซัยด์(glycosides) 88 ชนิด สารสำคัญคือ Rcbaudiosides A,B,C,D,E ; Dulcoside A และ Stevioside สาร Stevioside ซึ่งเป็นสารหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมาก โดยปริมาณสูงสุดในหญ้าหวานทั่วไปและเป็นสารที่มีรสหวานจัดจะมีความหวาน ประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

การออกรสหวานของสารหวานในหญ้าหวานจะไม่เหมือนกับของน้ำตาลทรายทีเดียว เพราะจะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อยและรสหวานจะจางหายไปช้ากว่า น้ำตาลทราย นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีแคลลอรี่ต่ำมากเมื่อเทียบ กับน้ำตาลทราย เนื่องจากไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกาย และพบอีกว่า สารหวานในหญ้าหวานทนต่อความร้อนและสภาวะความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี รวมทั้งยังเป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันต่ำและปลอดภัยสูง

พญ.เพ็ญนภาบอกว่า จากคุณสมบัติของสารหวานดังกล่าว ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นสารที่ให้ความหวานสำหรับอาหารและเครื่องดื่มบาง ประเภท โดยใช้แทนน้ำตาลทรายบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญคือ ลดปริมาณแคลลอรี่ในอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งไม่สามารถบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากๆ ได้ นอกจากนั้น ในหลายประเทศก็มีการยอมรับหญ้าหวานอย่างเป็นทางการ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ บราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยและบราซิลก็ยังมีประวัติการบริโภคหญ้าหวานมาเป็นระยะเวลานาน

จากข้อมูลเบื้องต้นน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการแพทย์ไทย ที่จะส่งเสริมและแนะนำให้ผู้ป่วยหรือกลุ่มประชาชนที่รักสุขภาพ มีการบริโภคความหวานจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากสมุนไพรเพื่อเป็นการลด ต้นทุนหรือลดการนำเข้าสารหวานสังเคราะห์จากต่างประเทศได้

ทั้งนี้ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุญาตให้นำสารสกัด stevioside มาขึ้นทะเบียนเป็นสารหวานแทนน้ำตาลได้

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
สร้างเมื่อ 03 - พ.ย.- 48

 


หญ้าหวาน : ถึงเวลาหญ้าหวานกู้ชาติ


ฝ่ายวิชาการ สถาบันการแพทย์แผนไทย


หญ้าหวาน เป็นพืชที่มีคุณสมบัติเป็นรสหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อการนำมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางการเกิดโรค เช่น พวกโรคอ้วน โรคเบาหวาน

          หญ้าหวานเป็นพืชที่มีการกล่าวขวัญกันมานานมาก มีงานวิจัยมากมาย แต่หญ้าหวานก็ไม่เคยที่จะมีข้อสรุปที่จะส่งผลให้ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์ใน ทางเศรษฐกิจกับเขาบ้าง ทั้งๆ ที่ ญี่ปุ่น อเมริกา และทั่วโลกต่างเลี่ยงสารหวานอื่นๆ หันมากินหญ้าหวานแทนกัน และประเทศที่ปลูกหญ้าหวานอย่างจีน, บราซิล และอื่นๆ ต่างได้รายได้จากหญ้าหวานเป็นกอบเป็นกำ โดยที่คนไทยไม่มีสิทธิบริโภค เพียงแต่เป็นผู้ส่งออกได้บ้างเล็กน้อย แล้วคนไทยก็มากินสารหวานที่นำเข้าแทนทั้งๆ ที่ชาติอื่นเขากำลังเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเลิกบริโภคสารหวาน ที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมี เพราะมีข่าวว่าอาจไม่ปลอดภัย

          ปัญหาหญ้าหวานอยู่ที่ใด คำตอบคือ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่ายังไม่พอ นักวิจัยได้ร่วมกันทบทวนผลงานวิจัย ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์แผนไทย เมื่อ 21 เมษายน 2542 ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีข้อสรุปปัญหาและคำถามว่า

หญ้าหวานคืออะไร ใครกินบ้าง

          หญ้าหวานเป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana  Bertoni พืชพื้นเมืองของบราซิล มีการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี 1887  คือ 113 ปีมาแล้ว โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัย ใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปี ต่อมา ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี 1982 คือ 17 ปีมาแล้ว

หญ้าหวานปลอดภัยหรือไม่

          หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน "สตีวิโอไซท์" มีความหวานกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า ปัจจุบันไทยปลูกได้ทางภาคเหนือ และมีสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ไทยสกัดสารหวาน สตีวิโอไซด์ได้ด้วยตนเอง โดยทีมนักวิจัย ม.เชียงใหม่ และในไทยมีโรงงานผลิตสารตัวนี้แล้วด้วยซ้ำ

          หญ้าหวานไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มก/กก. น้ำหนัก ซึ่งกินได้สูงมาก ในความเป็นจริง มีผู้บริโภคได้ทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้ว เป็นเครื่องยืนยันว่า การบริโภคหญ้าหวานในรูปสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูง แถมได้ผลพลอยได้ คือลดน้ำตาลในเลือด และอาจลดความดันโลหิตได้ด้วย

หญ้าหวานทำให้เป็นหมันจริงหรือ?

          มีรายงานระบุถึงความหน้าเป็นห่วงว่า ชาวปารากวัยกินหญ้าหวานทำให้คุมกำเนิดหรือลดอสุจิลง เป็นเรื่องที่สงสัย ทำให้ประเทศไทยใช้ประเด็นนี้อ้างไม่อนุญาตหญ้าหวานให้คนกิน จากรายงานต่างๆ ที่ประชุมได้สรุปข้อมูลจากรายงานต่างๆ แล้วยืนยันสารสกัดจากหญ้าหวาน คือสตีวิโอไซด์ เมื่อป้อนหนูถึง 3 ชั่วอายุ 3 รุ่น ไม่พบการก่อกลายพันธุ์, แต่อย่างใดยังคงขยายพันธุ์ได้ตามปกติ ญี่ปุ่นกลับไม่กลัวประเด็นนี้ใช้กันมา 17 ปี ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดพิษแต่อย่างใด

คนไทยกินหญ้าหวานแบบใด?

          คนไทยกินหญ้าหวาน 2 แบบ แบบสมุนไพรมีการนำใบหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเติมรสหวานในชาสมุนไพรหรือยาชงสมุนไพร และแทนน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน มีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มหมอเมือง กลุ่มสันติอโศก และมีการนำสมุนไพรมาใส่ซองผสมกับสมุนไพรอื่นทั้งๆ ที่มีประกาศห้ามใช้ในประเทศ จึงเป็นเรื่องหนักใจที่หมอเมืองถูกจับซ้ำซากที่พยายามใช้หญ้าหวานในรูปแบบ ดังกล่าว และนักวิจัยที่ทำเรื่องนี้ต่างก็ท้อใจไปตามๆกัน

          คนไทยกลุ่มหนึ่งยังคงใช้สารหวานสังเคราะห์ยี่ห้อดังๆ จากต่างประเทศในรูปแบบโดยตรงและโดยอ้อม คือ ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ จากข้อสรุปของ อย. เมื่อได้รับข้อเสนอจากสถาบันฯ ให้ยกเลิกประกาศหลังจากประชุม เมื่อ 21 เมษายน 2542 ที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญมีมติว่าหญ้าหวานไม่ปลอดภัยยังไม่ควรเลิกประกาศนั้น เพราะข้อมูลไม่พอเพียง เป็นข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งกับญี่ปุ่น อเมริกา

          ข้ออ้างคืองานวิจัยในรูปแบบสารสกัดหยาบ คือต้มน้ำชงน้ำธรรมดาแบบชาวบ้านกิน มีงานวิจัยสนับสนุนน้อย มีแต่งานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดสตีวิโอไซด์ เป็นส่วนใหญ่ เป็นข้ออ้างที่ทีมวิจัยชุดแรกที่ประชุมโดยสถาบันฯ ต้องตกตะลึงว่า ประเทศไทยมีมาตรฐานสูงกว่าอเมริกาและญี่ปุ่นมาก หญ้าหวานจึงขมต่อไป และต้องขอชมเชยทีมงานจากเชียงใหม่นำโดย ภก.รศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย , รศ.ดร.ด้วง พุธศุกร์, อจ.ไมตรี สุทธจิตต์ และคณะทั้งหลาย จำนวนกว่า 20 คน ได้กลับไปทบทวนปัญหาอีกครั้งและได้ทำวิจัยเพิ่มเติม เพื่อปิดจุดโหว่หญ้าหวานต่อไป ไม่หยุดยั้งด้วยปรารถนาให้เกษตรกรผู้ยากไร้ได้มีทางเลือกต่อไป

ผลการวิจัยประเด็นกินแบบชาวบ้านมิใช้สารสกัด ถูกรายงานนำเสนอดังนี้

          สารสกัดโดยน้ำหรือสกัดอย่างหยาบของหญ้าหวานไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ ไม่มีผลต่อการเป็นหมันทั้งในระยะเฉียบพลันหรือเรื้อรัง, และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพ ตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยา นอกจากนี้ยังได้พิจารณาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานวัตถุดิบไว้พร้อม นอกจากนี้ยังได้ทดลองเอาหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น มะตูม ก็ไม่มีอะไรและถึงความเป็นพิษอันตรายแต่อย่างใด ข้อมูลเหล่านี้ คงทำให้ผู้เชี่ยวชาญ 2-3 คน ยังติดใจอยู่ สบายใจได้มากขึ้น และอาจารย์วีรสิงห์ เมืองมั่น จาก รพ.รามาธิบดี ก็ได้วิจัยหญ้าหวานให้อาสาสมัครแล้วพบว่าปลอดภัย และการใช้หญ้าหวานอย่างปลอดภัย คือ ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม / วัน ซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกาแฟ หรือเครื่องดื่มถึง 73 ถ้วย / วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนเราส่วนใหญ่กิน 2-3 ถ้วย/วัน หญ้าหวานในรูปสมุนไพรมิใช้สารสกัดจึงปลอดภัยมาก

ข้อมูลทางการเกษตร

          หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-50 ซม. ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายต้นโหระพา ใบเล็กลำต้นแข็ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ประเทศไทยปลูกได้ดีช่วงปลายฝนต้นหนาวในที่ดอน เช่น ภาคเหนือสูง 400-1,2000 ม. เหนือระดับน้ำทะเล บางคราวปลูกหลังทำนา 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 10,000-12,000 ต้น ดูแลน้ำอย่างสม่ำเสมอและกำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยวใบทุก 3-4 เดือน ได้ผลผลิต 600-1,000 กก. สดต่อไร่ ต่อปี ลงทุน 12,000 / ไร่ จะได้รายได้ 20,000 ไร่ กำไร 8,000 บาทต่อไร่

*จากข้อมูลดังกล่าว หญ้าหวานปลอดภัยทั้งกินแบบสมุนไพร และในรูปแบบสารสกัดสตีรีโงไซค์ สมควรสนับสนุนเป็นพืชเศรษฐกิจครบวงจรต่อไป

ประเด็นการเมือง

          หญ้าหวานมีผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตสารหวานจากการสังเคราะห์อย่างแน่นอน เพราะต้องแบ่งส่วนแบ่งของตลาด สารหวานสังเคราะห์ ซึ่งเป็นของต่างประเทศที่ต้องนำเข้า หรือผลิตโดยนำสารสกัดจากต่างประเทศ รัฐต้องตัดสินใจว่าจะเอาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก หรือบริษัทข้ามชาติเป็นหลัก บริษัทที่ทำสารหวานเคมีน่าจะหันมาช่วยสารหวานจากหญ้าหวานแทน และเข้ามาช่วยดำเนินการด้วยซ้ำไป ให้มีการใช้อย่างกว้างขวางและเข้ามาทำธุรกิจนี้ด้วยก็ได้

          มีผลต่อการผลิตน้ำตาลในประเทศหรือไม่ ไม่น่ามีผลเพราะตลาดคนละส่วนกัน น้ำตาลทราย น้ำตาลปีบ มีรสชาติในการประกอบอาหาร การใช้หญ้าหวานไปแทนน้ำตาลในการใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปเป็นไปได้ยากมาก แทนที่จะขัดแย้งอาจเชิญชวนเกษตรกรปลูกอ้อย ภาคเหนือหันมาปลูกหญ้าหวานบ้าง ก็ยิ่งเป็นรายได้เสริม สามารถแบ่งตลาดสารหวานอีกนอกจากรายได้จากน้ำตาลดังกล่าว

ข้อสรุปเชิงนโยบาย

          ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การกู้เศรษฐกิจต้องใช้กิจการเกษตร และผลิตภัณฑ์ทางเกษตรเป็นตัวนำ เพราะบ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ชาวเหนือปลูกหญ้าหวาน ก็ไม่ต้องมาล้มละลายขายที่ ขายตัว นำทรัพย์ในดินให้เป็นเงินทอง เจรจากับประเทศที่เราเป็นหนี้รับซื้อหญ้าหวานและสารสกัดจากเราก็เป็นการทำ รายได้เข้าประเทศ และการใช้หญ้าหวานที่เราปลูกได้แทนสารหวานสังเคราะห์ก็จะทำให้ประหยัดเงิน มิให้รั่วไหลในต่างประเทศได้เช่นกัน

ที่มา : http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/herbs/herbal09.htm